วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แปลง Youtube เป็น MP3

Copy URL ของ คลิปที่เราต้องการจะแปลงเป็น MP3
แล้วจากนั้นก็เข้าเว็บ http://www.video2mp3.net/index.php 
หน้าตาเว็บก็จะเป็นแบบนี้


ใส่ Url เรียบร้อยแล้วก็เลือกคุณภาพ เมื่อเลือกได้แล้ว คลิก Convert  ได้เลย จากนั้นรอสักครู่ตามคุณภาพ
ก็จะมีหน้าเว็บตามข้างล่าง
คลิก Contlinue to you download เลย ห็จะมีหน้าต่างใหม่ขึ้นมา

แปลงไฟล์เสร็จเรียบร้อย!

> > Click here to download your converted file < <
ให้ Click here ก็จะพบกับ

ที่นี้คลิกที่ ดาวน์โหลด MP3 ได้เลย จบข่าว

วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Naviscope โปรแกรมเพิ่มความเร็วอินเตอร์เน็ตโดยการกำจัดการแสดงป้ายโฆษณาออกไป

อีกหนึ่งวิธีการเพิ่มความเร็วของการเล่นอินเตอร์เน็ต ก็คือการเลือกโหลดและแสดงภาพต่าง ๆ บนหน้าเว็บไซต์ ที่เราได้เข้าไปชม โดยทำการเลือกแสดง เฉพาะภาพที่จำเป็นเท่านั้น ในส่วนของภาพที่เป็นป้ายโฆษณาต่าง ๆ หากเราสามารถ ปิดหรือยกเลิก ป้ายโฆษณาต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่ให้มีการ ดาวน์โหลดและแสดง บนหน้าเว็บเพจที่กำลังชมอยู่นั้น ก็ช่วยทำให้เรา ไม่ต้องเสียเวลา รอการโหลดภาพ เหล่านั้นมาแสดง โปรแกรมที่จะมาช่วยงานนี้คือ โปรแกรม naviscope ที่สามารถทำการ ปิดแบนเนอร์ ที่ไม่จำเป็นต่าง ๆ ไม่ให้แสดงบนหน้าเว็บ จึงเป็นการช่วยเพิ่มความเร็ว ของการเล่น อินเตอร์เน็ตได้อีกวิธีหนึ่งโปรแกรม naviscope นี้เป็นฟรีแวร์ สามารถหาดาวน์โหลดมาใช้งานได้จากหน้า download ของเว็บไซต์ http://www.naviscope.com โดยเข้าไปและใส่อีเมล์ของเรา จากนั้นก็ทำการดาวน์โหลดมาเก็บไว้ใช้งานได้เลย หลังจากที่ทำการดาวน์โหลดได้แล้ว มาดูตัวอย่างการติดตั้ง และวิธีการตั้งค่าต่าง ๆ ของโปรแกรม naviscope กัน

เริ่มต้นหลังจากที่ทำการดาวน์โหลดมาแล้ว ก็ทำการติดตั้งโปรแกรมก่อน โดยการดับเบิลคลิกที่ไฟล์สำหรับการติดตั้ง

วิธีการติดตั้ง เริ่มต้น จะเป็นตามตัวอย่างดังภาพด้านบนนี้ ตรงนี้จะขอไม่แสดงรายละเอียด ในการติดตั้งแต่ละขั้นตอนนะ เพราะว่าไม่มีอะไรมาก คือหลังจากสั่งติดตั้งแล้ว ให้กดที่ปุ่ม Yes หรือ OK หรือ Next ไปเรื่อย ๆ จนเสร็จขั้นตอนเท่านั้นเอง ซึ่งเมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว จะได้ภาพตัวอย่างโปรแกรมดังนี้

ส่วนของ Toolbar จะแสดงรายละเอียดของสถานะต่าง ๆ
ส่วนของ setup จะเป็นการกำหนดต่าต่าง ๆ ของโปรแกรม
การตั้งค่าต่าง ๆ ของโปรแกรม naviscope
ต่อไปเป็นการตั้งค่าต่าง ๆ หลังจากที่ได้ทำการติดตั้งตัวโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว เริ่มต้นจาก เลือกที่เมนู Configure จากหน้าต่าง setup ตามภาพด้านบนนี้ จะได้หน้าต่างของ Naviscope - Setup ตามภาพต่อไปนี้
ในส่วนของการตั้งค่าต่าง ๆ ขอแนะนำให้ใช้ตามที่โปรแกรมเลือกมาให้อยู่แล้ว ยกเว้นว่าต้องการเลือกตามที่เราต้องการ ขอแนะนำเฉพาะค่าที่น่าจะเข้าไปตั้งใหม่ดังนี้
เลือกกดที่ป้าย Ad Blocking ซึ่งตรงนี้จะเป็นการเลือกชนิดของการ block ป้ายโฆษณา โดยกำหนดรูปแบบที่ต้องการดังนี้
  • (nothing) คือกำหนดให้ส่วนที่เป็น ป้ายโฆษณา ไม่ต้องมีการแสดงอะไรตรงนั้นเลย
  • (AD) คือกำหนดให้แสดงตัวอักษรคำว่า AD แทนส่วนที่เป็น ป้ายโฆษณา
  • The ad's description คือกำหนดให้แสดงคำอธิบายของโฆษณานั้นแทนภาพ
  • A box that load... คือกำหนดให้แสดงป้ายโฆษณา เมื่อเอาเมาส์ไปวางไว้ตรงตำแหน่งนั้น
    ถัดลงไปจะเป็นช่องสำหรับใส่ค่าหน่วงเวลา เมื่อเอาเมาศืไปวาง และถัดไปเป็นการกำหนดขนาดและชนิดตัวอักษร
ในส่วนตรงการกำหนดค่าของวิธีการแสดงโฆษณานี้ ความเห็นส่วนตัว หากไม่กลัวเสียโอกาสในการชมโฆษณาต่าง ๆ ก็น่าจะเลือกให้เป็น (nothing) ไปเลย เพราะว่าจะดูง่าย ๆ และสบายตาดี
ถัดไปให้กดเลือกที่ป้าย MTU/RWIN เพื่อกำหนดการปรับแต่งค่าของโมเด็ม ที่อาจจะช่วยเพิ่มความเร็วได้อีกนิดหน่อย
วิธีการเลือกก็ง่าย ๆ ไม่ต้องคิดอะไรมาก กดเลือกที่ Optimize MTU/RWIN ไปเลย จากนั้นก็กดปุ่ม OK
การกำหนด Blocl & Filter เพิ่มเติม
หากใช้งานโปรแกรมนี้ไปแล้ว ยังรู้สึกว่า มีการแสดงป้ายโฆษณา ของบางเว็บไซต์มีอยู่ เราสามารถทำการเพิ่ม keyword ของป้ายโฆษณานั้น ๆ เพิ่มเข้าไป เพื่อให้โปรแกรมรู้จักและ ทำการปิดป้ายโฆษณานั้น ทิ้งออกไปได้ โดยการเลือก กดเมาส์ขวา ที่ไอคอนของโปรแกรมบน taskbar ด้านล่างขวามือ และเลือกที่เมนู Blocking..

 ตรงเมนูของการเลือก Block & Filter เราสามารถกำหนดชนิดและวิธีของการกำจัดป้ายโฆษณาต่าง ๆ ได้ ขอแนะนำให้ทดลองเลือกดู ตามตัวอย่างด้านบนนี้ จากนั้น หากต้องการเพิ่มคำ หรือ keyword ของป้ายโฆษณา เพื่อให้โปรแกรมรู้จักและ ทำการปิดป้ายนั้น ๆ ได้ ให้กดที่ปุ่ม Ad Keywords ก่อน จะมีเมนูด้านล่างต่อท้ายเพิ่มขึ้นมา ให้ทำการใส่ คำ หรือ ad keywords ลงไป อาจจะเป็น URL หรือชื่อเว็บไซต์ ของป้ายโฆษณาที่ต้องการปิดก็ได้ จากนั้นกดที่ปุ่ม Add ก็เป็นอันเสร็จ กดปิดเมนูหน้านี้ได้เลย
ในส่วนของ Toolbar เมนูด้านบน หากไม่ต้องการให้โปรแกรมแสดงเมนู Toolbar ค้างไว้ก็สามารถปิดได้ดังนี้
โดยการกดเมาส์ขวาที่ Toolbar และเลือกที่เมนู Disable Toolbar  และถ้าหากต้องการยกเลิกการทำงานชั่วคราว ก็สามารถทำได้ โดยการกด เมาส์ขวา ที่ taskbar menu ด้านล่างขวามือ
หากต้องการยกเลิกการทำงานชั่วคราว ก็เลือกที่เมนู Disable
สรุปโดยรวมแล้ว นับว่า naviscope เป็นโปรแกรม ที่ทำหน้าที่ป้องกันและ กำจัดป้ายโฆษณาต่าง ๆ ได้ดีโปรแกรมหนึ่ง ที่เมื่อทดลองใช้งานดู พบว่า มีส่วนช่วยทำให้การเล่นอินเตอร์เน็ต มีความเร็วมากชึ้นและลดความรำคาญ ที่ต้องไปคอยปิดหน้าต่าง ที่บางเว็บทำเป็น popup เปิดหน้าต่างใหม่ ๆ ขึ้นมาได้ดี น่าพอใจมาก






วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

รู้จักกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการใช้งาน เครื่องคอมพิวเตอร์
           สำหรับท่านที่อยากทราบว่า คอมพิวเตอร์เครื่องที่ใช้งานอยู่นั้น เป็นรุ่นไหน ความเร็วเท่าไร มีขีดความสามารถอะไรบ้าง ลองอ่านบทความนี้ดู อาจจะเน้นเฉพาะในส่วนของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างเดียวเท่านั้น ในส่วนของอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ เช่นเครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ จอแสดงผล และอื่น ๆ ขอข้ามไปก่อน เอาแต่เฉพาะส่วนประกอบที่เป็นคอมพิวเตอร์จริง ๆ เท่านั้น
CPU หรือ Central Processor Unit
สิ่งแรกที่ควรรู้คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่นี้ เป็นเครื่องรุ่นไหน ความเร็วเท่าไร สำหรับ CPU นี้ก็ขอพูดถึงแบบคร่าว ๆ โดยจะขอพูดถึงแต่เฉพาะ CPU รุ่นที่ยังพอใช้งานได้ในปัจจุบันเท่านั้น ดังนี้
  • 80486 เป็น CPU ที่บางท่านยังอาจจะมีใช้งานอยู่ โดยทั่วไปที่พบจะเป็น 486SX, 486DX และ 486DX4
  • Pentium Classic หรือ P54C จะมีความเร็วประมาณ 100-166 MHz ถือว่ายังพอใช้งานได้อยู่ในปัจจุบัน แต่อาจจะช้าไปสักหน่อย
  • Pentium MMX หรือ P55C จะมีชุดคำสั่ง MMX ติดมาด้วย ความเร็วตั้งแต่ 166-233 MHz
  • AMD K5 และ AMD K6 เป็น CPU ของ AMD รุ่นแรก ๆ ที่พอมีขายในบ้านเรา ความเร็วประมาณ 166-300 MHz
  • AMD K6-II และ AMD K6-III ปัจจุบันยังถือว่าใช้งานได้ดีอยู่ ความเร็ว 266-550 MHz
  • IBM และ Cyrix MII ไม่ค่อยได้ยินชื่อนัก แต่พอมีขายอยู่บ้าง ความเร็วประมาณ PR200-PR333 (หน่วย PR ไม่ใช่ MHz นะครับแต่ถือว่าใกล้เคียงกัน)
  • Intel Celeron รุ่นแรก ๆ จะเป็น Slot 1 ความเร็ว 266-300 MHz และต่อมาเป็น Socket 370 ความเร็วที่ 300 MHz ขึ้นไป (ปัจจุบันเท่าที่ได้ยินจะมีความเร็วถึง 700 MHz แล้ว)
  • Intel Pentium II เป็น CPU แบบ Slot 1 รุ่นแรกครับ ความเร็ว 233-450 MHz
  • Intel Pentium III รุ่นแรก ๆ จะเป็น Slot 1 ความเร็ว 450-600 MHz รุ่นหลัง ๆ จะเป็นแบบ FC-PGA 370 ความเร็วเริ่มที่ 500 เป็นต้นไป (จะมีรหัสต่อท้ายด้วย EB, E คือ CPU แบบ FC-PGA ส่วน B คือรุ่นที่รันด้วยบัส 133 MHz)
  • AMD Athlon เป็น CPU ของ AMD ทำงานบน Slot A ครับที่เห็นความเร็วก็ 500 MHz ขึ้นไป
  • AMD Duron เป็น CPU ของ AMD ทำงานบน Socket A ความเร็วตั้งแต่ 600 MHz ขึ้นไป
  • AMD Thunderbird เป็น CPU ของ AMD ทำงานบน Socket A ความเร็วตั้งแต่ 700 MHz ขึ้นไป
  • Pentium IV เป็นรุ่นใหม่ของ Intel ทำงานบน FC-PGA 423 ความเร็วตั้งแต่ 1.3 GHz ขึ้นไป
Mainboard สำหรับ CPU
สำหรับ Mainboard ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว Mainboard จะแบ่งออกเป็นตามรูปแบบชนิดของ CPU ที่ใช้งานดังนี้
  • Socket 3 สำหรับ CPU 80486 Socket 5 สำหรับ CPU Pentium รุ่นแรก ๆ ที่ความเร็วประมาณ 60-100 MHz
  • Socket 7 สำหรับ CPU Pentium Classic และ Pentium MMX รวมถึง IBM และ Cyrix ด้วย
  • Super Socket 7 ที่จริงก็คือแบบเดียวกับ Socket 7 นั่นแหละ แต่สามารถทำงานที่บัส 100 MHz ได้ (Socket 7 เดิมจะทำงานสูงสุดที่ 66 MHz)
  • Socket 370 สำหรับ CPU Celeron โดยเฉพาะ
  • Slot 1 สำหรับ CPU Celeron รุ่นแรก ๆ และ Pentium II, Pentium III แต่จะมีอุปกรณ์ ตัวแปลง ที่เรียกว่า Slotket เพื่อให้ใช้ CPU แบบ Socket 370 หรือ FC-PGA ให้ใช้งานบน Mainboard แบบ Slot 1 ได้ด้วย
  • Dual Slot คือจะมีทั้ง Socket 370 และ Slot 1 ทั้งคู่ซึ่งพอพบเห็นอยู่บ้าง
  • Slot A สำหรับ CPU ของ AMD Athlon รุ่นแรก ๆ
  • Socket A สำหรับ CPU ของ AMD Thunderbird และ Duron
นอกจากนี้ลักษณะของ Mainboard ยังมีการแบ่งตาม Case หรือระบบ Power Supply ด้วยโดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ AT กับ ATX โดยส่วนใหญ่แล้วหากเป็น Mainboard รุ่นใหม่ ๆ จะทำเป็นแบบ ATX เป็นส่วนมากซึ่งแบบ ATX นี้เท่าที่เคยได้ยินมาจะมีข้อดีกว่าแบบ AT ซึ่งเป็นแบบเก่าคือ ระบบการระบายความร้อนและการไหลเวียนของอากาศดีกว่า ระบบ Power Supply แบบใหม่สามารถสั่ง เปิด-ปิด เครื่องโดยใช้ Software ได้และอื่น ๆ อีกมากครับ อย่าลืมนะครับว่า Mainboard ของแบบ AT กับ ATX ไม่เหมือนกันและใส่ใน Case ต่างชนิดกันไม่ได้ ดังนั้นเวลาเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ ควรจะตรวจสอบให้ดีก่อนว่าเป็นแบบใด


รูปตัวอย่าง Mainboard
      






 Mainboard ในปัจจุบันยังมีแบบที่เรียกว่า All in One ด้วยคือรวมเอา การ์ดจอ เสียง โมเด็ม พอร์ทต่าง ๆ USB LAN ฯลฯ รวมไว้บน Mainboard อันเดียวและขายในราคาที่เท่ากับหรือถูกกว่า Mainboard แบบเปล่า ๆ ซะอีก โดยทั่วไปแล้ว Mainboard แบบ All in One จะมีข้อดีคือ ราคาถูก ไม่ต้องหาซื้ออุปกรณ์อย่างอื่น สามารถใช้งานได้ครบ แต่ข้อเสียคือไม่สามารถทำการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้เพราะมันติดอยู่บนบอร์ดเลย (อาจจะเปลี่ยนได้นิด ๆ หน่อย ๆ ครับ) ข้อเสียอีกอย่างคือ จะกินแรงของ CPU และ RAM ของระบบเครื่องค่อนข้างมาก
RAM หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์
RAM สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ จะมีหน่วยเป็น MB. ครับ (1M = 1 ล้าน bit) โดยทั่วไปก็ 32M หรือ 64M บางเครื่องอาจจะมี 128 M หรือถึง 256 M เลยก็ได้หากจำเป็นต้องใช้งานที่ใหญ่ ๆ จริง ๆ สำหรับ RAM ที่ใช้กันทั่วไปก็มีอยู่หลายชนิดมาก ถ้าหากแบ่งคร่าว ๆ ก็ขอแบ่งแบบง่าย ๆ ตามรูปร่าง ดังนี้
  • RAM 30 Pin สำหรับ CPU รุ่นประมาณ 80486 หรือก่อนหน้านี้จะมีขนาดแถวละ 1-4 M.
  • RAM 72 Pin สำหรับ CPU รุ่นประมาณ Pentium ขึ้นมา ซึ่งเท่าที่ทราบจะมีอยู่ 2 ชนิดคือ FPM และ EDO ขนาดเท่าที่เคยเห็นจะมี 4, 8, 16, 32 และ 64 M. โดยส่วนใหญ่จะเห็นมีขายแต่แบบ EDO ซึ่งเวลาใส่จะต้องใส่เป็นคู่ (คนขายเขาก็จะขายเป็นคู่ด้วย)
  • RAM 168 Pin หรือ ที่เรียกว่า SDRAM จะเป็น RAM รุ่นใหม่ มีความเร็วการเข้าถึง การอ่าน และการเขียนข้อมูลได้เร็วกว่าแบบ EDO มาก ส่วนใหญ่ปัจจุบันจะใช้ RAM แบบนี้ทั้งนั้นครับ ขนาดที่พบคือ 16, 32, 64, 128 และ 256 M. มีความเร็วบัสตั้งแต่ 66MHz, 100MHz, 133MHz และ 150 MHz
  • นอกจากนี้ แรมรุ่นใหม่ ๆ ยังมีแบบ RD-RAM และ DDR-RAM อีกด้วยครับ

RAM แบบ 30 pin

RAM แบบ 72 pin

RAM แบบ 168 pin



ตัวอย่างของ RAM แบบต่าง ๆ


Hard Disk อุปกรณ์เก็บข้อมูลในเครื่อง
เรื่องของ Hard Disk ก็คงไม่มีอะไรมาก ดูว่าขนาดเท่าไร เป็นยี่ห้ออะไร ความทนทานมากน้อย ปัญหาและการรับประกันเป็นอย่างไร ส่วนใหญ่ก็จะดูกันแค่นี้ แต่ที่อยากให้ตรวจสอบเพิ่มเติมก็คือ
  • เป็นแบบ UDMA33, UDMA66 หรือ UDMA100 หรือเปล่า ถ้าเป็น UDMA66 หรือ UDMA100 การส่งถ่ายข้อมูลก็จะเร็วขึ้นแต่ Mainboard ต้องรองรับด้วย
  • ความเร็วการหมุน 5,400 หรือ 7,200 รอบต่อนาที ถ้าการหมุนเร็ว การเข้าถึงข้อมูลก็จะเร็วด้วย ลายคนบอกว่าเลือกความเร็วแบบ 7,200 รอบจะได้ความเร็วกว่าแบบ UDMA66
  • ขนาดของ Buffer ที่เห็นก็มี 1M กับ 2M ถ้ามีแยะก็ดี




รูปตัวอย่างของ Hard Disk




VGA Display Card
การ์ดแสดงผล แบ่งออกตามชนิดได้คร่าว ๆ คือ
  • VGA แบบ 2D สำหรับงานธรรมดาทั่วไป ดูหนังฟังเพลงครับ
  • VGA แบบ 3D SLI จะเป็นลักษณะชองการนำมาต่อพ่วงกับแบบ 2D เพื่อให้สามารถใช้งาน 3D ได้ดีขึ้น
  • VGA แบบ 3D ที่รวมเอา 2D ไว้ในการ์ดเดียวกัน ปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นแบบนี้หมดแล้ว เหมาะสำหรับเล่นเกมส์ที่เป็น 3มิติ แต่ราคาค่อนข้างแพงอยู่มาก จะมีอยู่ 3 ค่ายใหญ่ ๆ ที่นิยมกันคือของ 3dfx, ของ TNT และ Savage
  • VGA แบบ TVin TVout จะเป็น Option เพิ่มเติมขึ้นมาเพื่อให้สามารถต่อสัญญาณภาพออก TV ได้ด้วย


รูปตัวอย่าง VGA Card




นอกจากนี้ VGA Card ยังจะต้องมี RAM อยู่บนการ์ดด้วยเหมือนกัน ยิ่ง RAM มากก็จะช่วยให้เล่นเกมส์ได้ภาพที่ไหลลื่นขึ้นครับ เท่าที่เห็นปัจจุบันนี้จะมีตั้งแต่ 8M, 16M และ 32 M และ VGA Card ก็จะมีทั้งแบบ PCI สำหรับ Mainboard รุ่นเก่า ๆ และแบบ AGP สำหรับ Mainboard รุ่นใหม่ ซึ่งแบบ AGP จะทำงานได้เร็วกว่าแบบ PCI ครับ ปัจจุบัน Mainboard รุ่นใหม่จะเป็น AGP หมดแล้ว

CD-ROM
อาจจะเป็นสิ่งจำเป็นในเครื่องคอมพิวเตอร์อีกชิ้นนึงครับ ความเร็วในรุ่นเก่า ๆ ก็ 4X, 8X ปัจจุบันที่เห็นจะอยู่ที่ 40-52X ครับ (1X คือความเร็วการส่งถ่ายข้อมูลเท่ากับ 150k/s)

รูปตัวอย่าง CD-ROM Drive


Sound Card
Sound Card หรือการ์ดเสียง ที่ยังพอเห็นจะมีทั้งแบบ ISA รุ่นเก่าและ PCI รุ่นใหม่ครับ อันนี้คงจะขึ้นอยู่กับคุณภาพและราคาของแต่ละยี่ห้อ เท่าที่พบจะมีบางรุ่นที่มี Wave Table ซึ่งจะช่วยให้เราเล่นเพลงแบบคาราโอเกะหรือ midi ได้เพราะขึ้น หรือถ้าหากไม่มีก็อาจจะสามารถซื้อเป็น Module ไปเพิ่มเติมภายหลังได้



รูปตัวอย่าง Sound Card





Modem สำหรับต่อเน็ต
Modem ปัจจุบันจะเป็น V90 56K หมดแล้ว แต่หากเครื่องใครเป็น 28.8 K หรือ 33.3 K ก็ยังพอใช้ได้ดีอยู่ครับ Modem จะมีทั้งแบบ Internal และ External ซึ่งถ้าเป็นแบบ External จะดูยุ่งยาก ต้องต่อสายไฟเพิ่มเติม แต่จะมีข้อดีคือไม่กินแรงของ CPU ครับ ถ้าเป็นแบบ Internal ก็จะมีแบบ Soft Modem ด้วยซึ่งจะเปลืองแรงของ CPU ไปอีกหน่อย
ส่วนประกอบอื่น ๆ
ส่วนประกอบอื่น ๆ ก็คงจะไม่มีอะไรแตกต่างกันมากนักครับ เช่น Floppy Disk Drive, Key Board หรือ Mouse สุดท้ายนี้ผมหวังว่าคงจะพอรู้บ้างนะครับว่าสเป็คเครื่องที่ท่านใช้งานอยู่น่ะเป็นอย่างไรกันบ้าง